อุตสาหกรรมก่อสร้างกัมพูชายังคงสดใส

SME Update
12/08/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4645 คน
อุตสาหกรรมก่อสร้างกัมพูชายังคงสดใส
banner

ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างในกัมพูชาขยายตัวอย่างต่อเนื่องและเริ่มเป็นอุตสาหกรรมที่เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินนโยบายการเร่งรัดพัฒนาประเทศที่เน้นเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น

กระทรวงที่ดินผังเมืองและการก่อสร้างของกัมพูชา ระบุว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 สถานการณ์ของภาคการก่อสร้างกัมพูชามีการเติบโตในเกณฑ์ดี มีมูลค่าการลงทุนในภาคการก่อสร้างภายในประเทศสูงถึง 2,742 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ

โดยการก่อสร้างส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจ อย่างเช่น กรุงพนมเปญและพระสีหนุ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพที่ทางรัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในการเร่งรัดให้มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


นโยบายดังกล่าวส่งผลดีต่อนักลงทุนไทย จะเห็นว่ามีการเตรียมพร้อมและขยายการลงทุนอย่างคึกคักล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2562 กระทรวงสิ่งแวดล้อมกัมพูชาอนุมัติให้โครงการ เขตเศรษฐกิจพิเศษสุวรรณภูมิผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเป็นที่เรียบร้อย และสามารถดำเนินการก่อสร้างตามแผนต่อไปได้

ทั้งนี้ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวเป็นการลงทุนของนักลงทุนจากประเทศไทยโดยกลุ่ม TCC ซึ่งได้เข้าไปลงทุนจัดตั้งบริษัทสุวรรณภูมิขึ้นเมื่อ 10 ปีก่อนหรือประมาณปี 2008 เริ่มก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาดกำลังการผลิต 10 เมกะวัตต์

ตามด้วยการพัฒนาที่ดินเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ขึ้นบนพื้นที่ขนาด 1,281.25 ไร่ในปี 2012 และได้รับการอนุมัติการขอรับส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชาในปีถัดมา นำมาสู่การจัดทำการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและได้รับการอนุมัติในการก่อสร้างดังกล่าว

สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ตั้งอยู่ที่จังหวัดกันดาล ห่างจากกรุงพนมเปญ 46 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือพนมเปญประมาณ 12 กิโลเมตรโดยเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้มีโรงงานที่ทันสมัยพร้อมใช้งานรวมทั้งการอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ การออกใบอนุญาตการดำเนินการด้านพิธีศุลกากรรวมถึงการรับสมัครคนงาน เป็นต้น

การก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ไม่เพียงจะเป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในกัมพูชามากขึ้นเท่านั้นแต่ยังถือว่าเป็นการสร้างงานให้กับชาวกัมพูชาด้วยซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ปัจจุบันกัมพูชามีเขตเศรษฐกิจพิเศษรวมทั้งหมด 19 แห่งมีการจ้างแรงงานรวม 94,000 คน ในปีที่ผ่านมากัมพูชามีการส่งออกสินค้ามูลค่า 12,120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการส่งออกสินค้าที่ผลิตได้จากเขตเศรษฐกิจพิเศษรวม 1,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่โอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทยจากเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว ถือว่าเป็นแหล่งผลิตที่มีทำเลที่ตั้งที่ดี เพราะอยู่ใกล้ศูนย์กลางทางธุรกิจของประเทศท่าเรือและไม่ไกลจากชายแดนเวียดนาม ประกอบกับมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันเหมาะสำหรับการย้ายหรือขยายฐานการผลิตจากประเทศไทย


ทั้งนี้ ไม่เพียงนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเรียลเซกเตอร์ที่จะได้รับประโยชน์เท่านั้น แต่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างจากไทยก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน โดยก่อนหน้านี้โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ขนาดใหญ่สองแห่งซึ่งเกิดจากการร่วมทุนของนักลงทุนไทยได้ขยายกำลังการผลิตเข้าไปยังกัมพูชาอาทิ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวงไทย ร่วมทุนกับ Chip Mong Group ตั้งบริษัท Chip Mong Insee ลงทุน 262 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลิตปูนซีเมนต์ที่จังหวัดกัมปอตกำลังการผลิต 5,000 ตันต่อวัน

อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งการที่กัมพูชามีโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ภายในประเทศเกิดขึ้นส่งผลให้ความต้องการนำเข้าปูนซีเมนต์จากต่างประเทศลดลง โดยในอดีตปูนซีเมนต์ถือว่าเป็นสินค้าส่งออกสำคัญที่ไทยส่งไปยังกัมพูชา 

การค้าชายแดนไทย โอกาสของ SMEs ไทย

ส่งออกรู้ยัง 8 กลุ่มสินค้าที่ต้องติดฉลากเมียนมา


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
30 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
26 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
34 | 07/12/2024
อุตสาหกรรมก่อสร้างกัมพูชายังคงสดใส